02-005-5940 Mon-Fri : 10:00 - 18.00

การแจ้งเบาะแส และการร้องเรียน

การแจ้งเบาะแส และการร้องเรียน

บริษัท เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) มีนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และพร้อมที่จะรับฟังข้อร้องเรียนตลอดจนข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ไม่ว่าจากบุคคลภายในองค์กร หรือจากบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสีย อันเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ การกำกับดูแลการปฏิบัติงาน หรือแจ้งเบาะแสการทุจริต

บริษัทฯ จะพิจารณาดำเนินการต่อข้อร้องเรียนด้วยความโปร่งใส สุจริตและยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งจะรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ปกป้องและมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนที่สุจริต พยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนในทุกกระบวนการพิจารณาข้อร้องเรียน เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัทฯ กำหนดให้มีกรอบการดำเนินงานการรับข้อร้องเรียน ดังนี้

  1. ขอบเขตข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับการทุจริต การประพฤติผิดวินัย หรือผิดกฎหมาย ตลอดจนเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องเกี่ยวกับจรรยาบรรณธุรกิจ เป็นต้น
  2. ผู้ร้องเรียนสามารถส่งข้อร้องเรียน หรือเบาะแสมายังบริษัทฯ ผ่านช่องทางการร้องเรียนต่างๆ ได้แก่
    • ช่องทาง “การแจ้งเบาะแสและการร้องเรียน” (Whistleblower) ในระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ www.mmmcapitalplc.com
    • ทาง E-mail : ia@mmmcapitalplc.com
    • ทางไปรษณีย์ ถึง
      ผู้จัดการตรวจสอบภายใน
      บริษัท เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
      89/2 อาคารอมรพันธ์ 205 ทาวเวอร์1 ชั้น 6 ซอยนาทอง ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์: 020055940
  • ช่องทางอื่นๆ ที่บริษัทฯ ได้เปิดไว้ (ถ้ามี)
  1. เงื่อนไขและการพิจารณาเบาะแสและข้อร้องเรียน
    1. รายละเอียดของเบาะแส หรือข้อร้องเรียน ต้องอยู่ภายในขอบเขตข้อร้องเรียนในข้อ 1. ต้องเป็นความจริง มีความชัดเจน หรือมีเอกสารหลักฐานประกอบการร้องเรียนพอที่จะนำสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการต่อไปได้
    2. ผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน สามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ หากเห็นว่าการเปิดเผยนั้นจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย หรือเกิดความเสียหายใดๆ แต่หากมีการเปิดเผยตนเอง จะทำให้สามารถรายงานความคืบหน้า สอบถามข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติม ชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทราบ หรือบรรเทาความเสียหายได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
    3. ข้อมูลที่ได้รับจะถือเป็นความลับ และไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนต่อสาธารณชน หากไม่ได้รับความยินยอม
    4. ผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือ ข้อร้องเรียนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัท หรือบุคคลภายนอก
    5. ระยะเวลาในการดำเนินการเรื่องร้องเรียนขึ้นกับความสลับซับซ้อนของเรื่อง ความเพียงพอของเอกสารหลักฐานที่ได้รับจากผู้ร้องเรียน รวมถึงเอกสารหลักฐานและคำชี้แจงของผู้ถูกร้องเรียน
    6. ผู้รับข้อร้องเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงต้องเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นความลับ จะเปิดเผยเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และความเสียหายของผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง แหล่งที่มาของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
    7. กรณีที่ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่าตนอาจได้รับความไม่ปลอดภัย หรืออาจเกิดความเดือดร้อนเสียหาย ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง สามารถร้องขอให้บริษัทกำหนดมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมก็ได้ หรือบริษัทอาจกำหนดมาตรการคุ้มครองโดยผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ต้องร้องขอก็ได้ หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเดือดร้อนเสียหาย หรือความไม่ปลอดภัย
    8. ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยกระบวนการที่มีความเหมาะสม และเป็นธรรม
    9. บริษัทฯ จะพิจารณาติดต่อกลับผู้ร้องเรียนตามช่องทางที่ได้แจ้งไว้ ในกรณีดังต่อไปนี้
      1. แจ้งกลับการรับข้อร้องเรียนหรือลงทะเบียนข้อร้องเรียน
      2. ขอรายละเอียด ข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม
      3. หลังจากได้ข้อสรุปในการหาข้อเท็จจริง
      4. กรณีอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร
    10. การพิจารณาข้อร้องเรียน การสอบสวนและกำหนดบทลงโทษ จะเป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อกำหนด แนวปฏิบัติของบริษัทฯ หลักเกณฑ์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    11. ผู้ร้องเรียนย่อมตระหนักและเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการร้องเรียนจะต้องกระทำโดยสุจริต หากผู้ร้องเรียนได้ร้องเรียนเรื่องอันเป็นเท็จ ไม่มีมูลความจริง หรือเจตนากลั่นแกล้ง หรือละเมิดบุคคลหรือองค์กร หรือมีเจตนาไม่สุจริต ฯลฯ บริษัทฯ จะดำเนินการกับผู้ร้องเรียนตามขั้นตอนของบริษัทฯ หรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามความเหมะสมแล้วแต่กรณีต่อไป

 

การคุ้มครองสิทธิพนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นที่รับจ้างทำงานให้แก่บริษัท

บริษัทจะไม่กระทำการใดอันไม่เป็นธรรมต่อพนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นใดที่รับจ้างทำงานให้แก่บริษัท ไม่ว่าจะโดยการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ลักษณะงาน หรือสถานที่ทำงาน สั่งพักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้าง หรือกระทำการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อบุคคลดังกล่าว ด้วยเหตุที่บุคคลนั้น

  1. ให้ข้อมูล ให้ความร่วมมือ หรือให้ความช่วยเหลือไม่ว่าด้วยประการใดๆ แก่กรรมการ ผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานกำกับดูแล ในกรณีที่บุคคลเหล่านั้นมีเหตุอันควรเชื่อโดยสุจริตว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ หรือนโยบายการกำกับดูแลกิจการ
  2. ให้ถ้อยคำ ยื่นเอกสารหลักฐาน หรือให้ความช่วยเหลือไม่ว่าด้วยประการใดๆ แก่กรรมการ ผู้บริหาร หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาหรือตรวจสอบกรณีมีเหตุสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ จรรยาบรรณ หรือนโยบายการกำกับดูแลกิจการ